top of page

ภาษาไทยเป็นภาษาคำโดด

ลักษณะของภาษาไทย

ลักษณะของภาษาไทย 
     ภาษาไทยเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติ เป็นสมบัติทางวัฒนธรรมอันก่อให้เกิดความเป็นเอกภาพ จึงเป็นสมบัติของชาติที่ควรค่าแก่การเรียนรู้ อัจฉริยลักษณะของภาษาไทยมี ความโดดเด่นเทียบเท่ากับภาษาสากลได้ ภาษาไทยมีลักษณะที่นักภาษาศาสตร์ได้ศึกษาไว้ พอเป็นสังเขปที่บอกถึงลักษณะของภาษาไทยได้ ๗ ลักษณะ  ดังนี้
                   ๑. ภาษาคำโดด

                   ๒. การเรียงคำแบบ ประธาน กริยา กรรม

                   ๓. ภาษาวรรณยุกต์

                   ๔. เสียงสระ พยัญชนะ วรรณยุกต์เป็นหน่วยภาษา
                                    
                   ๕. การวางคำขยายไว้ข้างหลังคำหลัก                               

                   ๖. การลงเสียงหนักเบาของคำ

                   ๗. การไม่เปลี่ยนแปลงรูปคำ

ลักษณะของภาษาไทย

ภาษาไทยเป็นภาษาคำโดด
        นักภาษาศาสตร์จัดให้ภาษาไทยอยู่ในภาษาตระกูลคำโดด คือภาษาที่อุดมไปด้วยคำพยางค์เดียว เช่น คำที่เกี่ยวกับญาติพี่น้อง ได้แก่ พ่อ แม่ ปู่ ย่า ต่อมาเกิดการยืมคำจากภาษาต่างประเทศจึงมีคำหลายพยางค์ใช้ เช่น มารดา บิดา เสวย ดำเนิน ออกซิเจน คอมพิวเตอร์ ในที่สุดก็สร้างคำขึ้น ใช้เองจากคำพยางค์เดียว และคำที่ยืมมาจากภาษาต่างประเทศ เป็นการเพิ่มคำขึ้นใช้ในภาษาเป็นคำหลายพยางค์ ได้แก่ คำซ้ำ คำซ้อน คำประสม คำสมาส เช่น เด็ก ๆ เท็จจริง ไข่ดาว วิทยาศาสตร์
      
     ลักษณะพิเศษของคำไทยซึ่งไม่มีในภาษาอื่น มีดังนี้

     ๑.ภาษาไทยมีคำลักษณนามที่ใช้บอกลักษณะของคำนาม เพื่อให้ทราบสัดส่วนรูปพรรณสัณฐาน เช่น ใช้ วง เป็นลักษณนามของ  
        แหวน นามวลีที่มี ลักษณนามอยู่ด้วย จะมีการเรียงคำแบบ นามหลัก + คำบอกจำนวน + คำลักษณนาม   เช่น แมว ๓ ตัว

     ๒.ภาษาไทยมีคำซ้ำ คำซ้อนที่เป็นการสร้างคำเพิ่มเพื่อใช้ในภาษา เช่น ใกล้ ๆ หยูกยา

     ๓.ภาษาไทยมีคำบอกท่าทีของผู้พูด เช่น ซิ ละ นะ เถอะ

     ๔.ภาษาไทยมีคำบอกสถานภาพของผู้พูดกับผู้ฟัง เช่น คะ ครับ จ๊ะ ฮะ 

การเรียงคำแบบ

ประธาน กริยา กรรม

 ภาษาไทยเรียงคำแบบประธาน กริยา กรรม เมื่อนำคำมาเรียงกันเป็นประโยค 
ประโยคทั่ว ๆ ไปในภาษาจะมีลักษณะสามัญ จะมีการเรียงลำดับ ดังนี้  นาม กริยา นาม นามที่อยู่หน้ากริยา เป็นผู้ทำกริยา มักอยู่ต้นประโยค ทำหน้าที่เป็นประธาน ส่วนคำนามที่บอกผู้รับกริยา มักอยู่หลังคำกริยานั้นทำหน้าที่เป็นกรรม ด้วยเหตุนี้ประโยคสามัญในภาษาไทยจึงมักเรียงคำแบบ ประธาน กริยา กรรม   ด้วยเหตุนี้ประโยคสามัญในภาษาไทยจึงมักเรียงคำแบบ ประธาน กริยา กรรม 
นักภาษาศาสตร์จึงจัดให้ภาษาไทยอยู่ในประเภทภาษาที่เรียงคำแบบ ประธาน กริยา กรรม 
      อย่างไรก็ดีมีประโยคในภาษาอยู่ไม่น้อยที่ดูเหมือนว่าจะเปลี่ยนลำดับคำได้โดยไม่เปลี่ยนความหมาย 

 

ภาษาวรรณยุกต์

ภาษาไทยเป็นภาษาวรรณยุกต์ ภาษาวรรณยุกต์เป็นภาษาที่มีการไล่เสียงของคำ ในภาษาไทยมีการไล่เสียงวรรณยุกต์ หรือการผันวรรณยุกต์ ได้ ๕ เสียง ได้แก่ เสียงสามัญ เสียงเอก เสียงโท เสียงตรี และเสียงจัตวา การที่ภาษาไทยผันไล่เสียงได้นี้ ทำให้มีคำใช้มากขึ้น การไล่เสียงสูง ต่ำ ทำให้ความหมายของคำเปลี่ยนไปด้วย เช่น มา  ม้า  หมา มีความหมายแตกต่างกัน  ถ้าออกเสียง คำว่า ม้า เป็น หมา  ความหมายก็จะเปลี่ยนไปด้วย 

         นอกจากนี้ยังทำให้คำในภาษาไทยมีความไพเราะ เพราะระดับเสียงสูง ๆ ต่ำ ๆ ของคำทำให้เกิดเป็นเสียงอย่างเสียงของดนตรี โดยที่เสียงวรรณยุกต์มีการแปรเปลี่ยนความถี่ของเสียง ได้แก่ เสียงวรรณยุกต์สามัญมีระดับเสียงกลาง ๆ และจะคงอยู่ระดับนั้นจนกระทั่งปลาย ๆ พยางค์  เสียงวรรณยุกต์เอกจะมีต้นเสียงกลาง ๆ แล้วจะลดต่ำลงมาอย่างรวดเร็วแล้วคงอยู่ในระดับนี้จนปลายพยางค์ เสียงวรรณยุกต์โทมีต้นเสียงระดับเสียงสูงแล้วลดระดับเสียงลงต่ำอย่างรวดเร็ว ที่ปลายพยางค์ หรืออาจจะเปลี่ยนสูงขึ้นจากระดับต้นพยางค์นิดหน่อย ก่อนจะลดระดับเสียงลงอย่างรวดเร็วก็ได้ เสียงวรรณยุกต์ตรีมีลักษณะเด่นที่มีระดับเสียงสูงโดยจะค่อย ๆ สูงขึ้นทีละน้อยจากต้นพยางค์จนสิ้นสุดพยางค์  และเสียงวรรณยุกต์จัตวามีต้นเสียงระดับเสียงต่ำแล้วลดลงเล็กน้อยก่อนจะ เปลี่ยนเสียงขึ้นอย่างรวดเร็วที่ปลายพยางค์

เสียงสระ พยัญชนะ วรรณยุกต์

เป็นหน่วยภาษา

เสียงสระ พยัญชนะ วรรณยุกต์เป็นหน่วยภาษา
         ภาษาไทยมีเสียงสระ พยัญชนะและวรรณยุกต์เป็นหน่วยภาษา หน่วยเสียงที่ใช้ในภาษาไทยแบ่งได้เป็น ๓ ประเภท คือ หน่วยเสียงสระ หน่วยเสียงพยัญชนะ และหน่วยเสียงวรรณยุกต์ หน่วยเสียง เป็นเสียงสำคัญที่ใช้ในภาษาใดภาษาหนึ่ง เป็นเสียงซึ่งทำให้คำมีความหมายต่างกันได้  
  
             นักภาษาศาสตร์จึงให้เสียงสระ พยัญชนะ และวรรณยุกต์เป็นหน่วยภาษา เนื่องจากแต่ละเสียงเป็นเสียงสำคัญทำให้คำมีความหมายต่างกัน ทั้งหน่วยเสียงสระ พยัญชนะ วรรณยุกต์ เป็นหน่วยเสียงที่มีความสำคัญทำให้ความหมายของคำเปลี่ยนไปได้

         หน่วยเสียงสระในภาษาไทยมี ๒๑ หน่วยเสียง เป็นสระเดี่ยว ๑๘ เสียง  แบ่งเป็นสระสั้น ๙ เสียง สระยาว ๙ เสียง และสระประสม ๓ เสียงเท่านั้น ไม่แบ่งเป็นสระสั้น สระยาว เนื่องจากการออกเสียงสระประสมสั้น หรือยาวไม่มีนัยสำคัญ กล่าวคือ ไม่ทำให้ความหมายของคำแตกต่างกัน เหมือนกับเสียงสระเดี่ยวที่แบ่งเป็นสระสั้น สระยาว การออกเสียงสระประสมสั้น หรือยาวก็ไม่ทำให้ความหมายเปลี่ยนไป อย่างไรก็ตามในการเขียนได้กำหนดเป็นมาตรฐานว่าต้องเขียนคำบางคำด้วยสระสั้น คำบางคำต้องเขียนด้วยสระยาว เช่น เจี๊ยะ เพี๊ยะ ผัวะ เขียนรูปสระสั้น แต่ต้องเขียนคำ เช่น เสือ เกือก เมีย เสีย เลีย ด้วยสระยาวเท่านั้น

        

การวางคำขยายไว้ข้างหลังคำหลัก
      คำขยายในภาษาไทยจะวางไว้ข้างหลังคำหลักหรือคำที่ถูกขยายเสมอ  การวางคำขยายจะเกิดในกรณีที่ผู้พูดหรือผู้เขียนมีความต้องการจะบอกกล่าวข้อความเพิ่มเติมในประโยค ก็หาคำมาขยายโดยการวางคำขยายไว้ข้างหลัง คำที่ต้องการขยายความหมายมักจะเป็นคำนาม คำกริยา ดังนั้น คำขยายจึงอยู่หลังคำที่ถูกขยายหรือคำหลัก จะเรียงลำดับ ดังนี้ 

 ๑. คำนาม (คำหลัก) + คำขยาย เช่น บ้านเพื่อน แขนขวา (บ้าน แขน เป็นคำหลัก ส่วนเพื่อน ขวา เป็นคำขยาย)
  ๒. คำกริยา (คำหลัก) + คำขยาย เช่น กินจุ เดินเร็ว (กิน เดิน เป็นคำหลัก ส่วนจุ เร็ว เป็นคำขยาย)
      คำขยาย หรือคำที่ทำหน้าที่ขยาย แบ่งออกเป็น ๒ ชนิด คือ ๑) คำที่ทำหน้าที่ขยายนาม เป็นคำชนิดต่าง ๆ เช่น คำนาม  
     
       คำสรรพนาม คำลักษณนาม คำบอกจำนวน เป็นต้น และเมื่อขยายแล้วจะเกิดเป็นกลุ่มคำนามหรือนามวลี เช่น ละครเพลง ร่มใน  

      

การวางคำขยายไว้ข้างหลังคำหลัก

bottom of page